LECTURE

เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
  
สีสันในเว็บเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้  เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็น จากเว็บก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์เราสามารถใช้สีกับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจตั้งแต่รูปภาพตัวอักษรสีพื้นหลังการใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
 การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษรบางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น

การผสมสี (Color  Mixing) มี2แบบ
    1. การผสมแบบบวก (Additive mixing)จะเป็นรูปแบบการผสมของแสงไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ สามารถนำไปใช้ในสื่อใด ๆ ที่ใช้แสงส่องออกมา เช่น จอโปรเจคเตอร์  ทีวี  
   2. การผสมแบบลบ (Subtractive  mixing)  การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี เช่น ภาพวาดของศิลปิน   รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

ความกลมกลืนของสี
 - ความเป็นระเบียบของสีที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความสมดุลและความสวยงามในเวลาเดียวกัน
 การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย ขาดระเบียบและอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชมการใช้สีที่จืดชืดเกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อ และไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้
 -เป้าหมายในเรื่องสี คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายน่าสนใจและสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบชุดสีพื้นฐาน (Simple  Color  Schemes)
  - ชุดสีร้อน (Warm  Color  Scheme) ประกอบด้วยสีม่วง , น้ำเงิน , น้ำเงินอ่อน , ฟ้า ,ฟ้าเงินแกมเขียวและสีเขียวโดยจะให้ความรู้สึกเย็นสบายองค์ประกอบที่ใช้สีเย็นจะดูสุภาพเรียบร้อย
  - ชุดสีแบบเดียว  (Monochromatic  Color  Scheme) เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุด คือมีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียวแต่เพิ่มความหลากหลายโดยการเพิ่มความเข้มอ่อนในระดับต่าง ๆและชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวแต่ในบางครั้งอาจทำให้ดูไม่มีชีวิตชีวาเพราะขาดความหลากหลายของสี
  - ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่ติดอยู่กันในวงล้อสามารถเพิ่มเป็น 4 หรือ 5 สีได้แต่อาจส่งผลให้ขอบเขตของสีกว้างไป
  - ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split  Complementary  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น   แต่จะมีผลให้ความสดใส  ความสะดุดตา  และความเข้ากันของสีลดลงด้วย
 -ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน (Double Split Complementary Color Scheme) ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามเช่นกันแต่สีตรงข้ามทั้ง 2สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง 2ด้านและชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายของสีที่มากขึ้น  แต่จะมีความสดใสและกลมกลืนของสีที่ลดลง
  -ชุดสีเย็น (Cool  Color  Scheme) เว็บเพจที่ใช้โทนสีเย็นให้บรรยากาศคล้ายทะเลรู้สึกเย็นสบาย
  - ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่อยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสามซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อสีเท่ากัน จึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
  -ชุดสีตรงข้าม (Complementary  Color  Scheme)  คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี   เมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กัน   จะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น

ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
    - สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้       
    - สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
    - สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่าง ๆ ออกจากกัน
    - สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสามารถของผู้อ่าน
    - สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
    - ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
    - สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ 

   
การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม


ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
1. เบราเซอร์ที่ใช้
   เบราเซอร์ คือ โปรแกรที่ใช้เรียกดูเว็บ สามารถแสดงได้ทั้งตัวอักษร รูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว เบราเซอร์ที่ได้ความนิยม เช่น Internet Explorer Netscape Navigatr Opera มาตรฐานกลางของเบราเซอร์ คือ w3c
 เป็นองค์กรที่กำหนดคุณสมบัติของเบราเซอร์ เราควรออกแบบตามคุณสมบัติดังนี้
   -สามารถใช้ได้กลับเบราเซอร์ได้ทุกรุ่น
   -เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์รุ่นล่าสุด
   -เว็บไซต์ตามความสามารถของเบราเซอร์
   -เว็บไซต์ที่มีหลายรูปแบบ
2. ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
เป็นระบบที่เป็นปัจจัยหลักต่อ มีผลต่อการทำง่านของเบราเซอร์มาก โดยแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดและรุ่นของ เบราเซอร์ที่ใช้ได้ระดับความละเอียดของหน้าจอ ชุดสีของระบบ และชนิดของตัวอักษรที่มาพร้อมกับระบบ
3. ความละเอียดของหน้าจอ
   ความละเอียดของหน้าจอ (monitor resolution) มีหน่วยเป้น pixel ความละเอียดของหน้าจอไม่ขึ้นกับขนาดของมอิเตอร์ที่ใช้แต่จะขึ้นกับประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลว่าสามารถทำได้ได้ละเอีวดแค่ไหน การออกแบบหน้าจอผู้ใช้ส่วนใหญ่จะชอบหน้าเว็บที่เปิดมาแล้วสมบูรณ์
4.จำนวสีที่จอของผู้ใช้
สามารถแสดงได้มอนิเตอร์มีความสามารถใหการแสดงสีแตกต่างกน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ จำนวนหน่วยความจำในการ์ดจอมากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถแสดงได้นั้น ขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depth and color depthซึ่งก็คือจำนวนบิตที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแค่ละพิกเซลขุดสีสำหรับเว็บ (Web palette) หมายถึว ชุดสีจำนวน 216 สีที่มีอยู่เหมือนกันในระบบปฏิบัติการ Windows and Mac ปัจจุบัน Web palette มีความสำคัยน้อยลง เนื่องจากจอของผู้ใข้สามารถแสดงสีได้มาขึ้น
5. ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่อง
    ชนิดของตัวอักษรมี 2 แบบMS Sans Serif VS Microsoft Sans Serif
   MS Sans Serif  เป็นฟอนต์แบบชิตแมท ซึ่งออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซล โดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป็นขนาดที่แน่นอน
    Microsoft Sans Serif เป็นฟอนด์ที่มีโครงสร้างของอักขระเป็นแบบเวคเตอร์หรือลายเส้น โอยมีกรออกแบบเอาท์ไลน์ไว้เพียงแบบเดียว แต่สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัด
ตัวอักษรแบบกราฟิก (Graphic Text)
6.ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ความเร็วของอินเตอร์เน็ตจะมีผลต่อเวลาที่ใช้ในการแสดงผลของเว็บ
7.ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี ผู้ออกแบบเว็บจะต้องระวังไม่ให้หน้าเว็บมีโทนสีมืดหรือสว่างจนเกินไป และควรเลือกใช้โทนสีที่ต่างกันพอสมควร

       


รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ 
(GIF ,JPG และ PNG)

  GIF  ย่อมาจาก  Graphic  Interchange  Formatมีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากกว่า 256 สีได้รับความนิยมในยุคแรก มีการบีบอัดข้อมูลตามแนว
นอนของพิกเซล เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น
  JPG  ย่อมาจาก  Joint  Photogtaphic  Experts  Groupใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy) มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color)สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด
  PNG  ย่อมาจาก  Portable  Network  Graphic   สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิต 16บิตและ 24บิต มีระบบการบีบอัดแบบ Deflateที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย (lossless) มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า (Gamma)และความโปร่งใส (Transparency) ในตัวเอง

ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
  รูปภาพที่ใช้หน่วยวัดขนาดตามหน้าจอมอนิเตอร์ นั่นก็คือหน่วยพิกเซล ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดของกราฟฟิกหับองค์ประกอบอื่น ๆ ในหน้าเว็บรวมถึงขนาดของหน้าต่างเบราเซอร์ด้วย

ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ
 -ระบบความละเอียดของรูปภาพที่แสดงผลบนจอมอนิเตอร์ควรใช้หน่วย pixel per inch (ppi)
 -แต่ในทางการใช้งานจะนำหน่วย dot per inch (dpi) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้งานแทน ppi
 -ความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็เพียงพอแล้ว

โปรแกรมกราฟฟิกสำหรับเว็บ
  • ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภททีนำมาใช้ในการสร้างกราฟฟิกสำหรับเว็บ
          - Adobe   PhotoShop
          - Adobe  ImangeReady
          - Firework    
  • ค่าพื้นฐานที่สามารถเลือกปรับได้คือ  รูปแบบไฟล์,  ชุดสีที่ใช้ ,  จำนวนสี,  ระดัความสูญเสีย,  ความโปร่งใส และสีพื้นหลัง